Blank Template for Bootstrap

ทันตกรรมเพื่อความงาม

Card image cap
การอุดฟันแบบ Inlays และ Onlays

การอุดฟันแบบ inlays และ onlays นั้นมีความคล้ายคลึงกับการอุดฟันโดยทั่วไป แต่เนื้อที่ที่จำเป็นต้องได้รับการอุดมีขนาดใหญ่มากซึ่งไม่เหมาะสมกับวิธีการธรรมดา ดังนั้นทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำให้ใช้วิธีการอุดแบบ inlays หรือ onlays โดยการอุดฟันแบบ inlays เป็นการอุดฟันด้านในของบริเวณฟันด้านนั้น ในขณะที่การทำ onlays จะมีวิธีการคล้ายคลึงกับการทำ inlays เพียงแต่จะมีพื้นที่ในการอุดมากกว่า inlays โดยจะครอบคลุมหลายด้านและมุมของฟัน

คุณประโยชน์ของการบูรณะฟันด้วย Inlays และ Onlays
  • เพิ่่มความแข็งแรงให้แก่ฟันและมีความทนทานมากกว่าการอุดฟันแบบธรรมดา
  • เป็นอีกทางเลือกแทนการครอบฟันในกรณีที่ฟันมีปัญหาไม่มากนัก
  • วัสดุเซรามิกที่ใช้ในการทำ inlays และ onlays จะไม่มีการเปลี่ยนสีเนื่องจากอายุการใช้งานหรือคราบอาหาร
  • ให้ความสวยงามและดูเป็นธรรมชาติกว่าการอุดฟันด้วยอมัลกัม
ประเภทของ Inlays และ Onlays

Inlays และ onlays สามารถทำได้จากวัสดุต่างๆ เช่น เซรามิก ทอง และเรซิน โดย Inlays และ Onlays ที่ทำจากเซรามิกจะให้ความใสและสวยงามเป็นธรรมชาติ ขณะที่การทำด้วยทองจะมีความแข็งแรงและทนทานสูง

ที่บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล เดนทัล เซ็นเตอร์ เราเลือกใช้วัสดุ IPS Empress Esthetics จากIvoclar Vivadent และ Procera Nobel Esthetics จากบริษัท Nobel Biocare ในการทำ Inlays และ Onlaysแบบเซรามิกล้วน

การรักษาด้วยการทำ Inlays และ Onlays
ขั้นตอนการรักษาด้วยการทำ Inlays และ Onlays
  1. ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยและการเตรียมฟัน
    • การฉีดยาชาบริเวณฟันซี่ที่จะรักษา
    • การกรอฟันให้มีรูปร่างที่เหมาะสม
    • การจดบันทึก สี ขนาด รูปร่างของฟันที่ต้องการ
    • การพิมพ์ปากเพื่อทำแบบจำลอง
    • แบบจำลองและรายละเอียดทั้งหมดจะถูกส่งไปยังห้องแลบเพื่อทำ Inlays หรือ Onlays
    • ทันตแพทย์จะทำการอุดฟันแบบชั่วคราวให้แก่ผู้ป่วยสำหรับใช้งาน
  2. ขั้นตอนการติด Inlays หรือ Onlays
    • การรื้อวัสดุอุดแบบชั่วคราวออก
    • การติดยึด Inlays หรือ Onlays บนฟัน การตรวจเช็คและการปรับแต่งให้มีความเหมาะสมที่สุด
  3. ขั้นตอนการดูแลรักษา

การทำ Inlays หรือ Onlays นั้นมีความคล้ายคลึงกับการอุดฟันโดยทั่วไป เพียงแต่วัสดุที่ใช้ในการทำ Inlays และ Onlays นั้นจะมีความแข็งแรงและทนทานมากกว่าวัสดุที่ใช้ในการอุดฟันและการรักษาด้วยวิธีนี้จะก่อให้เกิดอาการเสียวฟันได้น้อยมาก

อาการที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการเข้ารับการรักษารากฟัน

ช่วงระยะเวลา 2-3 วันแรกหลังได้รับการรักษารากฟันแล้วนั้น ผู้ป่วยอาจมีความรู้สึกเสียวฟันอันเกิดเนื่องมาจากเนื้อเยื่อได้เคยเกิดการอักเสบติดเชื้อ โดยเฉพาะในกรณีที่มีอาการปวดมาก่อนเข้ารับการรักษา ซึ่งอาการดังกล่าวสามารถแก้ไขด้วยการรับประทานยาแก้ปวดทั่วไปและอาการดังกล่าวจะหายไปในเวลาไม่นาน

วิธีการดูแลเมื่อเข้ารับการรักษารากฟันและเมื่อเสร็จสิ้นการรักษา

ในช่วงเวลาของการรักษารากฟัน ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการบดเคี้ยวบริเวณฟันที่ได้รับการรักษา เนื่องจากทันตแพทย์จะทำการอุดปิดโพรงฟันแบบชั่วคราวเท่านั้น ดังนั้นฟันซี่นั้นจึงไม่มีความแข็งแรงมากพอที่งานได้ตามปกติ และเมื่อการรักษารากฟันเสร็จสิ้นแล้วนั้น ฟันซี่ดังกล่าวก็จะมีความแข็งแรงไม่เท่าดังเดิม ดังนั้นทันตแพทย์จึงแนะนำให้รับการใส่เดือยฟันและครอบฟันเพื่อเพิ่มความมั่นคงแข็งแรงและป้องกันฟันซี่นั้นจากการติดเชื้อและฟันแตกหัก

เพื่อสุขภาพปากและฟันที่ดีควรทำความสะอาดด้วยการแปรงฟันและการใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธี รวมถึงการพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพปากและฟันอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยป้องกันปัญหาในช่องปากและฟันได้


D E N T A C A R E   C L I N I C

เดนต้าแคร์ คลินิก
1010/18-20 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

 02-2357755, 02-6338877, 086-3044545
 dentacareclinic@hotmail.com

 Line ID: denta.ch

Copyright 2024.  All rights reserved.