การอุดฟันเป็นวิธีการรักษาทางทันตกรรมสำหรับผู้ป่วยที่มีฟันผุหรือบิ่น โดยทันตแพทย์จะทำการซ่อมแซมบริเวณนั้นด้วยวัสดุอุดฟันต่างๆ เช่น วัสดุ อมัลกัม และวัสดุเรซินสีเหมือนฟัน
- การให้ความรู้ด้านทันตกรรมและการจัดการพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก
- การดูแลและติดตามการขึ้นของฟัน
- การตรวจสุขภาพช่องปากและฟันอย่างสม่ำเสมอ
- การให้คำปรึกษาด้านโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับเด็ก
- การเคลือบฟันด้วยฟลูออไรด์
- การทำความสะอาดและขัดฟัน
- การบูรณะและการอุดฟันน้ำนมด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน
- การเคลือบหลุมร่องฟันสำหรับฟันแท้
- เครื่องมือคงสภาพฟัน (Space
maintainer) และเครื่องมือขยายช่องว่าง
(Space
regainer)
- การรักษารากฟันสำหรับฟันน้ำนมและการทำครอบฟันสแตนเลส
ประเภทของการอุดฟัน
การอุดฟันโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามชนิดของวัสดุที่ใช้ดังนี้
- การอุดฟันด้วยวัสดุอมัลกัม
- การอุดฟันด้วยวัสดุเรซินสีเหมือนฟัน
ศูนย์ทันตกรรมของเราเลือกใช้ 3M ESPE Filtek ในการอุดฟันด้วยวัสดุเรซินสีเหมือนฟัน เนื่องจากเป็นที่ยอมรับด้านนาโนเทคโนโลยี ซึ่งมีประสิทธิภาพและความแข็งแรงสูงในการอุดฟัน
คุณสมบัติของ 3M ESPE Filtek
- เนื่องจากประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กจึงให้ความเงางามและการเกาะยึดที่ดี
- มีความแข็งแรงและทนทานสูงแม้ใช้ในฟันกรามที่ต้องรับแรงบดเคี้ยว
- สามารถใช้ในงานอุดฟันแบบง่ายๆจนถึงซับซ้อน
สามารถปรับแต่งผสมสีให้มีความสวยงามใกล้เคียงกับสีของฟันตามธรรมชาติมากที่สุด
- มีระดับการหดตัวต่ำจึงช่วยลดโอกาสที่จะเกิดการเสียวฟันของผู้ป่วย
- ให้ความใสสว่างจึงช่วยให้แลดูเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น
- คุณสมบัติเฉพาะที่ได้รับจากการพัฒนาด้วยนาโนเทคโนโลยีจึงทำให้การอุดฟันที่ได้มีประสิทธิภาพการทำงานสูง
นำข้อมูลมาจากเว็บไซต์ของ 3M ESPE
การอุดฟันด้วยวัสดุเรซินสีเหมือนฟัน
ขั้นตอนการอุดฟันด้วยวัสดุเรซินสีเหมือนฟัน
- ขั้นการตรวจวินิจฉัยและการกรอฟันที่ผุออก
- เนื้อฟันที่ผุและติดเชื้อได้รับการกรอทิ้งไป
- การเตรียมพื้นที่ฟันเพื่อการอุด
- ขั้นตอนการอุดฟัน
- ทันตแพทย์จะทำการใส่วัสดุเรซินสีเหมือนฟัน
สลับกับการฉายแสงให้วัสดุแข็งตัวเป็นชั้นๆ
- หลังจากได้รับการอุดเต็มพื้นที่แล้ว
ทันตแพทย์จะทำการกรอแต่งให้ได้รูปร่างที่เหมาะสมตามต้องการ
- ทันตแพทย์จะทำการขัดวัสดุให้มีความเงางามดูเป็นเนื้อเดียวกันกับฟันตามธรรมชาติ
อาการที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการรักษา
โดยทั่วไป การอุดฟันหรือการเปลี่ยนวัสดุอุดนั้นสามารถทำได้ด้วยขั้นตอนง่ายๆ ในเวลาสั้นๆ ดังนั้นอาการต่างๆ เช่น การเสียวฟันหลังการรักษาจึงเกิดขึ้นได้น้อยมาก
การอุดฟันสามารถทำและเสร็จภายในวันเดียว แต่สำหรับกรณีทีผู้ป่วยมีจำนวนฟันที่ต้องเข้ารับการอุดมากๆนั้น อาจทำได้โดยการทยอยเข้ารับการอุด
การดูแลรักษาหลังได้รับการอุดฟัน
- ควรทำความสะอาดด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2
ครั้ง
การแปรงฟันหลังรับประทานอาหารเป็นการเริ่มวินัยที่ดีในการดูแลสุขภาพปากและฟันซึ่งเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติอย่างยิ่ง
- ควรทำความสะอาดด้วยไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1
- 2 ครั้ง
- ควรใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ก่อนเข้านอนทุกวัน
โดยกลั้วน้ำยาบ้วนปากและอมไว้ประมาณ 1 นาที
และไม่ควรดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารภายใน 30
นาทีหลังจากนั้น
- ควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันและเข้ารับการขัดฟันขูดหินปูนเป็นประจำทุก
6
เดือน
- ในกรณีที่มีอาการเสียวฟันหรือปวดฟัน
หรือมีการแตกและหลุดของวัสดุอุดฟัน ควรเข้าพบทันตแพทย์ทันที
การอุดฟันด้วยวัสดุอมัลกัม
เป็นการนำวัสดุอมัลกัมที่มีสีเทาเงิน ซึ่งมีส่วนประกอบของสารปรอท ในการอุดฟัน
ข้อดี
- อายุการใช้งาน – ประมาณ 10-15
ปีหรือมากกว่า
- ความแข็งแรง – สามารถรองรับแรงบดเคี้ยวได้
- ราคา – จะต่ำกว่าการอุดด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน
ข้อเสีย
- ความสวยงาม – เนื่องจากมีสีที่ไม่เหมือนฟันตามธรรมชาติ
- การสูญเสียเนื้อฟันมากกว่าที่ควร –
เนื่องจากการอุดด้วยอมัลกัมนั้นต้องใช้พื้นที่กว้างเพื่อรองรับวัสดุ
- การเปลี่ยนสีของฟัน –
วัสดุอมัลกัมอาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนสีของเนื้อฟันรอบๆวัสดุอุดให้เป็นสีเทา
- อาการแพ้สารปรอทซึ่งเกิดขึ้นน้อยมาก– ประมาณ 1%
ของผู้เข้ารับบริการที่มีอาการแพ้สารปรอทที่ผสมในวัสดุอุดอมัลกัม
การอุดฟันด้วยวัสดุเรซินสีเหมือนฟัน
เป็นการนำวัสดุเรซินที่มีสีเหมือนฟันตามธรรมชาติในการอุดฟัน
ข้อดี
- มีความสวยงาม – สามารถเลือกสีที่เหมือนฟันได้
- มีคุณประโยชน์หลายด้าน –
สามารถใช้วัสดุเรซินในการตกแต่งและซ่อมแซมฟันที่บิ่น
แตกหรือหักให้กลับมามีรูปร่างดีและมีความสวยงามดังเดิม
- สามารถรักษาเนื้อฟันได้มากกว่าการใช้อมัลกัม – เนื่องจากการอุดด้วยเรซินสามารถทำได้ด้วยการกรอเนื้อฟันที่เสียออกเท่านั้น
ขณะที่การอุดด้วยอมัลกัมต้องทำการกรอเนื้อฟันมากกว่าที่ผุเพื่อรองรับวัสดุอมัลกัม
ข้อเสีย
- อายุการใช้งาน – อาจไม่นานเท่าการใช้วัสดุอมัลกัม
- เวลาในการรักษาที่นานกว่า - เนื่องจากวิธีการที่ซับซ้อนกว่า
- การแตกของวัสดุ – ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่อุด
- ราคา – จะสูงกว่าการอุดด้วยวัสดุอมัลกัม
บางครั้งค่ารักษาอาจสูงถึง 2 เท่าเมื่อเทียบกับการอุดด้วยอมัลกัม
|