การครอบฟัน
การทำครอบฟันเป็นการบูรณะและปกป้องฟันที่ได้รับความเสียหาย แตกหัก หรือได้ผ่านการรักษารากฟัน โดยทันตแพทย์จะทำการครอบฟันซี่นั้นด้วยวัสดุประเภทต่างๆ เพื่อให้ฟันซี่นั้นมีรูปร่างและประสิทธิภาพการใช้งานที่ดีดังเดิม
คุณประโยชน์ของครอบฟันมีดังนี้
- ช่วยปกป้องฟันที่อ่อนแอ
เนื่องจากแตก หัก บิ่น มีการผุมาก หรือได้รับการรักษารากฟัน
และช่วยให้มีความแข็งแรงดังเดิม
- ช่วยป้องกันฟันที่ได้รับการครอบจากการเกิดฟันผุ
- ช่วยปกปิดฟันซี่เดิมที่ไม่สวยงาม
ด้วยครอบฟันที่มีรูปร่างและสีสรรที่สวยตามที่ต้องการ
- ช่วยให้สามารถรักษาตำแหน่งฟันและประสิทธิภาพการทำงานให้เหมือนดังเดิม
- ช่วยบูรณะฟันที่มีรูผุใหญ่
หรือมีวัสดุอุดเดิมที่ใหญ่เกินไปได้
- เป็นองค์ประกอบในการทำ
สะพานฟัน
- ช่วยบูรณะและการคงสภาพการสบฟันของผู้ป่วยตามธรรมชาติ
- เป็นองค์ประกอบใน
การปลูกรากฟันเทียมไททาเนียม
- ช่วยให้มีรอยยิ้มที่สวยงาม
ประเภทของครอบฟัน
1. ครอบฟันแบบเซรามิกและโลหะ
2. ครอบฟันแบบเซรามิกล้วน
3. ครอบฟันแบบโลหะล้วน (ทอง)
ครอบฟันประเภทเซรามิกผสมโลหะ และแบบเซรามิกล้วนนั้นจะมีสีสันที่เหมือนฟันจริงตามธรรมชาติ โดยทันตแพทย์มักจะแนะนำให้ผู้เข้ารับบริการเลือกใช้ครอบฟันแบบเซรามิกผสมโลหะสำหรับการทดแทนฟันกรามซึ่งใช้ในการบดเคี้ยว และแบบเซรามิกล้วนในการทดแทนฟันหน้า ซึ่งครอบฟันแบบเซรามิกล้วนนั้นจะมีความใส สวยงาม เหมือนฟันตามธรรมชาติ ส่วนครอบฟันแบบโลหะล้วนนั้นจะมี่ความแข็งแรงและทนทานมากที่สุด เนื่องจากไม่มีการบิ่นหรือ แตกเหมือนวัสดุเซรามิก
ที่บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล เดนทัล เซ็นเตอร์ เราเลือกใช้วัสดุ IPS Empress Esthetics จากIvoclar Vivadent และ Procera Nobel Esthetics จากบริษัท Nobel Biocare ในการทำครอบฟันแบบเซรามิกล้วน
การรักษาด้วยการทำครอบฟัน
ขั้นตอนการรักษาด้วยการทำครอบฟัน
- ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยและการเตรียมฟัน
- การฉีดยาชาบริเวณฟันซี่ที่จะกรอเพื่อทำครอบฟัน
- การกรอฟันเพื่อเป็นฐานให้แก่ครอบฟัน
- การจดบันทึก
สี ขนาด รูปร่างของฟันที่ต้องการในการทำครอบฟัน
- การพิมพ์ปากเพื่อทำแบบจำลอง
- แบบจำลองและรายละเอียดทั้งหมดจะถูกส่งไปยังห้องแลบเพื่อทำครอบฟัน
- ทันตแพทย์จะทำการติดครอบฟันแบบชั่วคราวให้แก่ผู้ป่วยสำหรับใช้งานระหว่างการรอ
- ขั้นตอนการติดครอบฟัน
- การรื้อครอบฟันแบบชั่วคราวออก
- การติดยึดครอบฟันแบบถาวรบนฟัน
การตรวจเช็คและการปรับแต่งให้มีความเหมาะสมที่สุด
- ขั้นตอนการดูแลรักษา
- ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำด้านการดูแลทำความสะอาดเพื่ออายุการใช้งานที่ยาวนาน
หมายเหตุ : ขั้นตอนการเตรียมฟันและการติดยึดครอบฟันนั้นอาจก่อให้เกิดการเสียวฟันได้ ซึ่งอาการดังกล่าวจะสามารถหายได้เองในเวลาไม่นาน
ข้อปฏิบัติหลังการเข้ารับการทำครอบฟัน
การดูแลเอาใจใส่เพื่อสุขภาพของปากและฟันที่ดีนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากครอบฟันสามารถมีอายุการใช้งานที่ยาวนานได้ก็ต่อเมื่อฟันที่ใช้เป็นฐานรองรับครอบฟันมีสุขภาพแข็งแรง
- หลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารที่มีความแข็งภายใน
24
ชั่วโมงหลังการติดยึดครอบฟัน
- สามารถหลีกเลี่ยงการเกิดการบวมหรืออาการต่างๆได้โดยการบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ
( เกลือ 1
ช้อนชา
+ น้ำอุ่น 1
แก้ว)
อย่างน้อยวันละ 3
ครั้ง
- ควรดูแลความสะอาดบริเวณที่ติดครอบฟันเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการเกิดโรคเหงือก
- อาการเสียวฟันอาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยบางท่าน
โดยอาการดังกล่าวจะสามารถหายได้เองภายในเวลาไม่นาน
ซึ่งถ้าเกิดอาการเสียวฟันผู้ป่วยควรปฏิบัติตนดังนี้
- หลีกเลี่ยงการดื่มหรือรับประทานอาหารที่ร้อน
เย็นหรือมีความเป็นกรดสูง เช่นน้ำมะนาวเป็นต้น
- การรับประทานยาแก้ปวดสามารถช่วยลดอาการเสียวฟันได้ระดับหนึ่ง
- ควรเลือกใช้ยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปากที่มีสารฟลูออไรด์สูงซึ่งสามารถช่วยปัญหาการเสียวฟันได้
- ควรทำความสะอาดอย่างถูกวิธี
ควรเริ่มด้วยการรับประทานอาหารอ่อนๆจนกว่าจะเคยชินกับครอบฟันใหม่
วิธีการดูแลรักษาหลังเข้ารับการทำครอบฟัน
- ควรทำความสะอาดด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ
2
ครั้ง
การแปรงฟันหลังรับประทานอาหารเป็นการเริ่มวินัยที่ดีในการดูแลสุขภาพปากและฟันซึ่งเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติอย่างยิ่ง
- ควรทำความสะอาดด้วยไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ
1
- 2 ครั้ง
- ควรทำการบ้วนปากด้วยน้ำยาผสมฟลูออไรด์ก่อนนอนทุกวัน
โดยทำกลั้วน้ำยาและอมไว้ในปากอย่างน้อย 1 นาที
และไม่ควรดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารภายใน 30 นาทีหลังการบ้วนปาก
- ควรให้ความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเคี้ยวของแข็งบริเวณฟันที่ได้รับการครอบ
- ควรพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก
6
เดือน
การทำสะพานฟัน
สะพานฟันเป็นทางเลือกหนึ่งทางทันตกรรมในการทดแทนฟันที่สูญเสียไป โดยการใช้ครอบฟันลอย (pontic)ใช้ทดแทนฟันทีสูญเสียไปและเป็นตัวเชื่อม ครอบฟัน ที่เกาะยึดบนฟันซี่ข้างเคียง
คุณประโยชน์ของสะพานฟัน
- ช่วยให้สามารถมีรอยยิ้มที่สวยงามได้ดังเดิม
- ช่วยให้สามารถมีการบดเคี้ยวและการออกเสียงที่ดีได้ดังเดิม
- ช่วยรักษารูปหน้าให้เป็นไปตามปกติ
- ช่วยแบ่งกระจายแรงบดเคี้ยวให้เป็นไปตามปกติ
- ช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงการรับแรงบดเคี้ยวที่มากเกินไปของฟันซี่ข้างเคียง
- ช่วยให้หลีกเลี่ยงปัญหาการล้มของฟันซี่ข้างเคียงมายังช่องว่าง
- ช่วยรักษาตำแหน่งและการทำงานของฟันให้เป็นไปตามธรรมชาติ
- ช่วยรักษาการสบฟันให้เป็นไปตามปกติ
ประเภทของสะพานฟัน
สะพานฟันแบบธรรมดา
สะพานฟันแบบธรรมดาจะประกอบด้วยครอบฟันประเภทต่างๆแล้วแต่ความต้องการของผู้ป่วย ซึ่งจะมีครอบฟันลอย (Pontic) ที่ใช้ทดแทนฟันที่สูญเสียไปเป็นตัวเชื่อมครอบฟันที่ยึดติดบนฟันซี่ข้างเคียง การทำครอบฟันประเภทนี้เป็นที่นิยมทำกันโดยทั่วไป
สะพานฟันแบบมีหลักยึดข้างเดียว
(
Cantilever Bridges)
สะพานฟันประเภทนี้จะมีฟันซี่ข้างเคียงเพียงซี่เดียวที่ใช้ในการเกาะยึดสะพานฟัน
สะพานฟันแบบแมรี่แลนด์ (Maryland
Bridges)
สะพานฟันแบบแมรี่แลนด์ (Maryland bridge) หรือ สะพานฟันที่ยึดด้วยวัสดุเรซิน (Resin-bond bridge) นั้น เป็นการทำสะพานฟันที่มีแกนโลหะและมีโลหะลักษณะคล้ายปีกที่ใช้ยึดติดด้านหลังของฟันด้านข้าง
ประเภทของวัสดุที่ใช้ในการทำสะพานฟันด้านข้าง
- สะพานฟันที่ประกอบด้วยครอบฟันแบบเซรามิกและโลหะ
- สะพานฟันที่ประกอบด้วยครอบฟันแบบเซรามิกล้วน
- สะพานฟันที่ประกอบด้วยครอบฟันแบบโลหะล้วน
(ทอง)
สะพานฟันประเภทเซรามิกผสมโลหะ และแบบเซรามิกล้วนนั้นจะมีสีสันที่เหมือนฟันจริงตามธรรมชาติ โดยทันตแพทย์มักจะแนะนำให้ผู้เข้ารับบริการเลือกใช้สะพานฟันแบบเซรามิกผสมโลหะสำหรับการทดแทนฟันกรามซึ่งใช้ในการบดเคี้ยว และแบบเซรามิกล้วนในการทดแทนฟันหน้า ซึ่งสะพานฟันแบบเซรามิกล้วนจะให้ความใส สวยงาม เหมือนฟันตามธรรมชาติ ส่วนสะพานฟันแบบโลหะล้วนนั้นจะมี่ความแข็งแรงและทนทานมากที่สุด เนื่องจากไม่มีการบิ่นหรือ แตกเหมือนเซรามิก
ที่บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล เดนทัล เซ็นเตอร์ เราเลือกใช้ครอบฟันที่ทำจากวัสดุ IPS Empress Esthetics จากIvoclar Vivadent และ Procera Nobel Esthetics จากบริษัท Nobel Biocare ในการทำสะพานฟันแบบเซรามิกล้วน
ขั้นตอนการรักษาด้วยการทำสะพานฟันแบบธรรมดา
- ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยและการเตรียมฟัน
- การฉีดยาชาบริเวณฟันซี่ที่จะกรอเพื่อเป็นฐานของสะพานฟัน
- การกรอฟันเพื่อเป็นฐานให้แก่สะพานฟัน
- การจดบันทึก
สี ขนาด รูปร่างของฟันที่ต้องการในการทำสะพานฟัน
- การพิมพ์ปากเพื่อทำแบบจำลอง
- แบบจำลองและรายละเอียดทั้งหมดจะถูกส่งไปยังห้องแลบเพื่อทำสะพานฟัน
- ทันตแพทย์จะทำการติดสะพานฟันแบบชั่วคราวให้แก่ผู้ป่วยสำหรับใช้งานระหว่างการรอการผลิตสะพานฟันแบบถาวร
- ขั้นตอนการติดสะพานฟัน
- การรื้อสะพานฟันแบบชั่วคราวออก
- การติดยึดสะพานฟันแบบถาวรบนฟัน
การตรวจเช็คและการปรับแต่งสะพานฟันให้มีความเหมาะสมที่สุด
- ขั้นตอนการดูแลรักษา
- ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำด้านการดูแลทำความสะอาดเพื่ออายุการใช้งานที่ยาวนาน
หมายเหตุ : ขั้นตอนการเตรียมฟันและการติดยึดสะพานฟันนั้นอาจก่อให้เกิดการเสียวฟันได้ ซึ่งอาการดังกล่าวจะสามารถหายได้เองในเวลาไม่นาน
ข้อปฏิบัติหลังการเข้ารับการทำสะพานฟัน
การดูแลเอาใจใส่เพื่อสุขภาพของปากและฟันที่ดีนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากสะพานฟันสามารถมีอายุการใช้งานที่ยาวนานได้ก็ต่อเมื่อฟันที่ใช้เป็นฐานรองรับสะพานฟันมีสุขภาพแข็งแรง
- หลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารที่มีความแข็งภายใน
24
ชั่วโมงหลังการติดยึดสะพานฟัน
- สามารถหลีกเลี่ยงการเกิดการบวมหรืออาการต่างๆได้โดยการบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ
( เกลือ 1
ช้อนชา
+ น้ำอุ่น 1
แก้ว)
อย่างน้อยวันละ 3
ครั้ง
- ควรดูแลความสะอาดบริเวณที่ติดสะพานฟันเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการเกิดโรคเหงือก
- อาการเสียวฟันอาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยบางท่าน
โดยอาการดังกล่าวจะสามารถหายได้เองภายในเวลาไม่นาน
ซึ่งถ้าเกิดอาการเสียวฟันผู้ป่วยควรปฏิบัติตนดังนี้ :
- หลีกเลี่ยงการดื่มหรือรับประทานอาหารที่ร้อน
เย็นหรือมีความเป็นกรดสูง เช่นน้ำมะนาวเป็นต้น
- การรับประทานยาแก้ปวดสามารถช่วยลดอาการเสียวฟันได้ระดับหนึ่ง
- ควรเลือกใช้ยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปากที่มีสารฟลูออไรด์สูงซึ่งสามารถช่วยปัญหาการเสียวฟันได้
- ควรทำความสะอาดอย่างถูกวิธี
- ควรเริ่มด้วยการรับประทานอาหารอ่อนๆจนกว่าจะเคยชินกับสะพานฟันที่มี
ข้อปฏิบัติหลังการเข้ารับการทำสะพานฟัน
- ควรทำความสะอาดด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ
2
ครั้ง
การแปรงฟันหลังรับประทานอาหารเป็นการเริ่มวินัยที่ดีในการดูแลสุขภาพปากและฟันซึ่งเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติอย่างยิ่ง
- ควรทำความสะอาดด้วยไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ
1
- 2 ครั้ง
- ควรทำการบ้วนปากด้วยน้ำยาผสมฟลูออไรด์ก่อนนอนทุกวัน
โดยทำกลั้วน้ำยาและอมไว้ในปากอย่างน้อย 1 นาที
และไม่ควรดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารภายใน 30 นาทีหลังการบ้วนปาก
- ควรให้ความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเคี้ยวของแข็งบริเวณสะพานฟัน
- ควรพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก
6
เดือน